วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไดโอด คือ




ในกทม. ทุกวันนี้จะเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะมีการจัดการเดินรถแบบวันเวย์ แล้วก็ตาม
ฉบับนั้ขึ้นต้นไม่เห็นเกี่ยวกับวงการอิเล็คทรอนิกส์สักหน่อย อย่างเพิ่งงงนะครับ ผมกำลังจะเอ่ยถึงอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์และเกี่ยวข้องกับคำว่า วันเวย์ ด้วยนะครับ บางคนอาจสงสัยว่าแล้วมันแกี่ยวอะไรกันด้วย
เห็นจะขาดเสียมิได้นะครับสำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์สมัครเล่นที่จะต้องรู้จักอุปกรณ์ตัวนี้ ไดโอด (diode) ไงครับ แล้วคำว่า "วันเวย์" ภาษาทางจราจรแปลว่า "เดินรถทางเดียว" แต่ถ้าเรานำมาใช้กับไดโอดมันจะแปลว่าอย่างไร ไม่ยากครับคือ มันจะยอมให้กระแสเดินผ่าน ตัวมันได้ทางเดียวเหมือนกัน เราลองมารู้จักรูปร่างหน้าตาของไดโอดดูนะครับในรูปที่ 1


รูปที่ 1 แสดงรูปร่างและสัญลักษณ์ของไดโอด

จากรูปที่ 1 ก. แสดงรูปร่างของไดโอดโดยทั่วไปทางปลายด้านบนของรูปที่แสดงขีดคาดแสดงว่าเป็นขั้วลบ (-) หรือ แคโทด (k) และขั้วด้านที่ไม่ได้แสดงอะไรเป็นเครื่องหมายอันนี้จะเป็นขั้ว (+) หรือแอโนด ส่วนรูปที่ 1 ข จะแสดงสัญลักษณ์ของไดโอด สมมติว่าท่านที่ เป็นนักอิเล็กทรอนิกส์เกิดไปเห็นสัญลักษณ์แบบนี้ในวงจรใดเข้าก็ไม่ต้องสงสัยนะครับ มันคือ ไดโอด แน่ๆ
ต่อไปเรามาดูคำว่า "วันเวย์" กันนะครับ ตามวงจรที่ประกอบตามรูปที่ 2 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าไดโอดมันทำ หน้าที่อย่างไร


รูปที่ 2 วงจรแสดงหน้าที่ของไดโอด

นักอิเล็กทรอนิกส์สมัครเล่นอาจจะเกิดความคิดขึ้นว่า ถ้าอยากจะต่อวงจรไดโอดให้กลับกันกับวงจรของผมในรูปที่ 2 ก. บ้างล่ะ จะได้ไหมครับได้ซิครับ ดังรูปที่ 3


รูปที่ 3 การต่อไดโอดกลับขั้วกับรูปที่ 2

ใครอยากจะต่อวงจรแบบใดก็ได้นะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ขอให้ต่อให้ขั้วของไดโอดตรงกับขั้วของแบตเตอรี่ก็แล้วกัน จากรูปที่ 3 ไดโอดยอมให้กระแสไฟผ่านเหมือนกันครับหลอดไฟจะติดสว่าง